30 ธันวาคม 2550

กรณีการศึกษาบทที่ 6 ระบบประมวลผลภาพใบสั่งของกรมการขนส่งในกรุงนิวยอร์ท

1. ระบบประมวลผลภาพมีผลต่อการกระบวนการออกใบสั่งเรียกค่าปรับในการฝ่าฝืนกฏจราจรของกรมการขนส่งอย่างไร
-มีความยุ่งยากหลายขั้นตอนในการป้อนไฟล์เข้าสู่ซอฟต์แวร์ และซอฟต์แวร์จะสั่งงานไปยังเมนเฟรมอีกขั้นตอนหนึ่ง
-ค่าใช้จ่ายสูง ถึงแม้ระบบการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มีความแม่นยำในการทำงานก็ตาม
2. ระบบประมวลผลภาพเป็นระบบสารสนเทศประเภทใด มีลักษณะอย่างไร
-เป็นระบบ Transaction Processing System (TPS) มีลักษณะ ข้อมูลที่อยู่ในระดับ TPS มีความสำคัญอย่างมาก หากข้อมูลเกิดความผิดพลาด บกพร่อง จะทำให้การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจที่สูงเกิดความผิดพลาดได้ง่าย

อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์เล็กทรอนิกส์

เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยให้การบริการทางเครือข่ายอินเทอร์ เช่นการรับ-ส่ง
e-mail สนทนาออนไลน์เทลเน็ต การขนถ่ายไฟลข้อมูล และรวมถึงการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตหรือที่ เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ตต้องใช้โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ทุกครั้ง โดยระบุ URL ของเว็บไซต์ให้ถูกต้อง
สิ่งที่สำคัญต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วย โดยการเชื่อมตรงกับหน่วยงานที่ให้บริการ
อินเทอร์เน็ต หรือการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็มก่อน

กรณีการศึกษาบทที่5

1. ระบบไอทีที่เอส เอฟ ซินีม่า ซิตี้ นำมาใช้นี้ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจและผู้ใช้บริการอย่างไร
-อาจมีการสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการและธุรกิจไม่ตรงกันในการชำระเงิน
-ผู้ใช้บริการอาจมีการแย่งด้านการจองที่นั่งได้เพราะว่า ต่างคนก็อยากที่นั่งพอเหมาะกับตัวเอง
-บางทีระบบอาจเกิดการขัดข้องในขณะที่ลูกค้ากำลังออนไลน์อยู่ เช่น ขณะคีย์รหัสบัตรเครดิตและที่นั่ง เป็นต้น
2. ระบบที่นำมาใช้นี้มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
-สั่งจองที่นั่ง
-การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
-พิมพ์ตั๋วจากที่บ้าน

กรณีการศึกษาบทที่ 5

ข่าวไอที

ซีเกทเปิดตัวฮาร์ดไดร์ฟบาราคูดา เอฟดีอีฮาร์ดไดร์ฟสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะความจุ 1 เทราไบต์ที่สามารถเข้ารหัสได้รุ่นแรกเพื่อตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความจุในการบันทึกข้อมูลในระดับสูงที่สุดและมีความปลอดภัยในระดับชั้นนำ ซีเกท เทคโนโลยีได้เปิดตัวฮาร์ดไดร์ฟสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะความจุ 1 เทราไบต์ (Terabyte) ซึ่งใช้การเข้ารหัสระดับเดียวกับรัฐบาลเพื่อป้องกันข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจากการตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตในฮาร์ดไดร์ฟหรือระบบที่สูญหายหรือถูกขโมยไป ด้วยการใช้การเข้ารหัสเออีเอส(AES encryption) ซึ่งเป็นโปรโตคอล(protocol) ที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้ ฮาร์ดไดร์ฟบาราคูดา เอฟดีอีนำมาซึ่งความปลอดภัยสูงสุดสำหรับระบบที่ปิดการใช้งานแล้ว การกลับเข้าไปใช้งานใหม่จำเป็นต้องมีรหัสผ่านของผู้ใช้ก่อนการบู๊ทซึ่งอาจถูกเพิ่มขึ้นด้วยการใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมชั้นอื่น เช่น สมาร์ทการ์ด (smart card) และไบโอเมตริกซ์ (biometrics) และทำงานด้วยความเร็ว 7200 รอบต่อนาที ปัจจุบันครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในธุรกิจมักถูกนำไปใช้งานอย่างอื่นเมื่อพนักงานลาออกหรือระบบใหม่ถูกนำมาใช้ ทำให้ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศต้องลบข้อมูลในฮาร์ดไดร์ฟซ้ำๆ กันเพื่อป้องกันการนำข้อมูลที่อ่อนไหวไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาหลายชั่วโมงและไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลจะถูกลบหมดหรือไม่ ด้วยไดร์ฟเอฟดีอีของซีเกท ข้อมูลในฮาร์ดไดร์ฟทั้งหมดจะสามารถถูกลบออกไปอย่างง่ายดาย และข้อมูลที่ยังเหลืออยู่ก็ไม่สามารถอ่านได้โดย eWEEKอัพเดต 4 ธันวาคม 2007 เวลา 14:53 น.ที่มา

คำถามท้ายบทที่4

1.จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
-1.1โปรโตคอล : คือกฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูลจึงสามารถส่งข้อมูลกันได้
-1.2 EDI : เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงอิเล็คทรอนิคส์ ระหว่างองค์การโดยใช้แบบฟอร์มของเอกสารอิเล็คทรอนิคส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล ตัวอย่างเช่นการส่งใบสั่งซื้อสินค้า ใบส่งของ
-1.3 BLUETOOTH : เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้การส่งข้อมูลทางคลื่นวิทยุ ซึ่งจะทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่คือเคลื่อนย้ายได้ สามารถติดต่อเชื่อมโยงสื่อสารแบบไร้สายระหว่างกันในช่วงระยะเวลาสั้นๆได้

2.จากรูปที่กำหนดให้ จงอธิบายเปรียบเทียบมาตรฐานการสื่อสารและเครือข่าย การนำไปใช้งาน ระหว่าง PAN,LAN,WLAN,WWASPAN
จะเป็นเครือข่ายที่แลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการ เช่น การบลูทูธ เป็นการส่งข้อมูลไปยัง LAN ในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร อาจใช้งานในห้องประชุม หรืออาจใช้ WLAN แทนการใช้บลูทูธในห้องประชุม3.จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้

4.ไวแม็กซ์ต่างจากไวไฟอย่างไร จงอธิบาย
จะมีความเร็วสูงกว่าไวแม็กซ์ แต่ไวแม็กซ์สามารถส่งข้อมูลผ่านสิ่งกีดขวางได้เป็นอย่างดี
5.จงอธิบายแนวทางการประยุกต์ใช้เครือข่ายส่วนบุคคลแบบไร้สาย PAN
ที่บ้านและท่านจะใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์อะไรบ้างในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายWireless LAN ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะใกล้โดยไม่มีสายสัญญาณ แต่ใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ เรียกว่า แอกเซส พอยต์ อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อคือโน้ตบุ๊ค
6.จงยกตัวอย่างแนวโน้มของเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่าย 2 ตัวอย่าง
- บลูทูธ อนาคตการเชื่อมต่อผ่านบลูทูธ จะขยายขอบเขตกว้างไปถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภค หรือการเชื่อมต่อโปรเจ็กเตอร์
- Wi-5 แนวโน้มการใช้บริการ จะขยายขอบเขตกว้างขึ้นโดยสถานที่พบปะของนักธุรกิจพนักงาน สถานที่ก็เช่นสนามบิน โรงแรม เป็นต้น

1. ท่านคิดว่า RFID มีข้อได้เปรียบกว่าบาร์โค้ดอย่างไรบ้าง
- สามารถทำให้เห็นของในสต็อกได้ทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คือ สามารถตรวจจับยา เพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบการขนส่งและจัดจัดจ่าย
- สามารถควบคุมการสูญหายและปกป้องชื่อเสียงของยี่ห้อ คือ สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปและจำนวนของสินค้าได้ ลดการสูญหายของสต็อก
- เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์ยา การเรียกยาคืน และข้อกำหนดต่างๆ คือ สามารถตรวจสอบยาปลอม ล็อตของยาและวันหมดอายุ และช่วยลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้าที่ต้องเรียกคืนได้
2. จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี RFID ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่าง ๆ 3 ตัวอย่าง
- เวชภัณฑ์ ตรวจสอบยาปลอม- ตรวจสอบข้อมูลและประวัติของยา
- ตรวจสอบวันหมดอายุของยาได้
3. ท่านคิดว่าข้อจำกัดของการนำ RFID ไปใช้ในงานธุรกิจมีอะไรบ้าง อธิบาย
-จำกัดการใช้การตรวจสอบยาปลอม ล็อตของยาและวันหมดอายุ ต่อการบริหารเรื่องการหมดอยาของยา และสามารถข้อมูลสายการผลิตของยาแต่ละล็อตของยาตามกฏหมาย


1. จากการประยุกต์ใช้เครือขายไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ แอปพลิเคชันที่ประยุกต์เพื่อใช้งานธุรกิจภายในองค์การมีอะไรบ้าง และมีแอปพลิเคชันใดล้างที่น้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
= แอปพลิเคชันที่นำมาประยุกต์ใช้งานธุรกิจภายในองค์การ มีดังนี้- ประยุกต์ใช้ในด้านการให้บริการเช่ารนยนต์ด้วยความเร็ว คือ มีการจองยนต์ล่วงหน้าไว้ โดยผ่านเครือข่ายไร้สายพนักงานจะแจ้งสถานที่รับรถยนต์ได้ และสามารถครวจสอบบัตรเครดิต ประวัติเช่ารถยนต์ภายในเวลาอันรวดเร็วรวมถึงการสะสมคะแนนกับสายการบินได้
- การคืนรถยนต์อัตโนมัติ คือ สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของบริษัทด้วยเครือข่ายไร้สายอำนวยความสะดวกในกรบวนการคืนรถยนต์ได้- ประยุกต์ใช้บริการโทรศัพท์เครื่องที่ในรถยนต์ คือ บริการเช่าโทรศัพท์เครื่องที่ที่ติดตั้งในรถยนต์ได้- การตรวจสอบเส้นทางเดิน คือ มีระบบการระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียมที่เรียกว่า GPS สามารถให้คำแนะนำในการตรวจสอบสถานทีเดินทางสะดวกรวดเร็ว
- ประยุกต์ใช้ในการบริการเสริมสำหรับลูกค้า คือ สามารถดาวน์โหลดช้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ผ่านเครือข่าวพีดีเอและอุปกรณ์ไร้สาย- ประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบตำแหน่วของรถเช่า คือ สามารถตรวจสอบได้ว่ารถยนต์ที่ให้เช่าได้ ขณะที่อยู่ในบริเวณใด ขับรถด้วยความเร็วที่เท่าใด
2. ประโยชน์อะไรบ้างที่เฮิร์ตซ์ได้รับจากการครวจสอบตำแหน่งของรถเช่า และในฐานะที่ท่านเป็นผู้เช่ารถ ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการดำเนินการในลักษณะนี้
= ประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจสอบตำแหน่งของรถเช่า คือ สามารถบอกตำแหน่งที่อยู่ของรถได้ ขณะขับความเร็วเท่าใด ตรวจสอบน้ำมันของรถยนต์ที่ให้เช่าได้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการดีเพราะสามารถบอกถึงความปลอดภัยของบุคคลที่เช่าได้อย่างแน่นอน

01 ธันวาคม 2550

เกร็ดความนำมาฝาก

เมื่อสัปดาห์นี้ได้ไปที่ศูนย์การค้าพันธ์ทิพย์พล่าเชียงใหม่ เจอสินค้าที่น่าสนใจเพื่อใช้ในการเก็บไฟล์ข้อมูลที่นิยมเรียกกันว่า Flach Drive ของ Kingston ที่มีความจุถึง 1 GK ราคาเพียง 299 บ.
เฉพาะช่วงโปรโมชั่นเท่านั้น และผมก็ได้ซื้อมาใช้แล้ว ซึ่ง Flach Drive นี้นิยมใช้งานในด้านคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อไฟล์มูล หรือเก็บไฟล์ที่ต้องการใช้งานต่อในครั้งต่อไปได้ สนใจที่รับต้องการข้อมูลเพิ่ม ที่นี่เลยครับ 053-288025 หรือ ศูนย์การค้าพันธ์ทิพย์พล่าเชียงใหม่ชั้น 3

บทเรียนรายสัปดาห์

สัปดาห์นี้ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ 5 ของการเรียนแล้วก็มีการสอบเก็บคะแนนเรื่องของโครงสร้างข้อมูล ที่กล่าวถึงหน้าที่การทำงานของโครงสร้างแต่ละโครงสร้างว่ามีการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะอย่างไร เช่น คลังข้อมูล เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ ถึงข้อดีข้อเสียของโครงสร้างแต่ละแบบ และรวมถึงองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูลว่ามีความคล่องตัวในการดำเนินงานมากน้อยเพียงใด ข้อมูลเหล่านี้สามารถหาความรู้เพิ่มได้จาก เว็บไซต์ ห้องสมุด หรือจากหนังสือ “ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้”

30 พฤศจิกายน 2550

กรณีการศึกษา

จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลสามารถนำมาวิเคราะห์โดยดาตาไมนิ่งได้ดังต่อไปนี้
1.1.สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของคนไข้ได้
1.2.ช่วยเรียกคิวเข้าพบแพทย์
1.3.แยกประเภทคนไข้
1.4.สามารถตรวจสอบประวัติคนไข้ได้ เป็นต้น

สามารถนำมาพัฒนาระบบให้เป็น Wed Services ในด้าน
2.1.ถามตอบระหว่างแพทย์และคนไข้ผ่านอินเตอร์เน็ต
2.2.ญาติสามารถเยี่ยมคนไข้แบบเอยู่ที่บ้าน สื่อสารด้วยระบบอินเตอร์เน็ต
2.3.ติดต่อแพทย์ประจำได้ (MSM)

29 พฤศจิกายน 2550

"เตือนภัยผู้ใช้คอมพ์ระวังสแปมหลอกให้เสิร์ช"
ระวังสแปมหลอกให้เข้าเว็บเสิร์ชข้อมูลหลอกให้เหมือนกำลังเข้าใช้งานกูเกิล แต่กลับแฝงมัลแวร์เพื่อหาประโยชน์จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรายใหม่ บริษัท เทรนอ์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท ได้รายงานว่า เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัย ได้ตรวจพบข้อความ ที่มีชื่อว่า"สแปม"ที่ล่อลวงผู้ใช้ในรูปของการลิงก์ที่ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นลิงก์ของเว็บไซต์ที่ค้นหาได้จากเว็บไซต์กูเกิล เช่น (http://google.com/ search{some string}btn{some string} โดยที่ "btn" คือสตริง (กลุ่มของสัญลักษณ์ตัวอักษร หรือตัวเลข) ถ้าคลิกเข้าไป ก็จะมีหน้าประโยคหนึ่ง ที่ชื่อว่า (ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย) แทนที่จะได้รับผลลัทธ์ออกมา แต่กลับถูกนำไปยัง เว็บเพจแรกของเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำที่ค้นหา เชื่อว่าลิงก์ที่รับเหล่านี้ไม่มีอันตราย ทันทีที่คลิก แต่ลิงก์เหล่านี้จะเปิดไปที่เว็บไซต์ซึ่งมีมัลแวร์แฝงอยู่โดยตรง เพื่อที่จะหาประโยชน์จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะทำลายเครือข่ายและติดเชื้อ ดังนั้นกูเกิลและแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้ค้นหาวิธีป้องกันภัยก่อนที่จะคุกคามบนเว็บและทำอันตราย ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนว่ามาจากแหล่งที่ไว้ใจได้ก็ตาม ไม่ควรคลิกลิงก์ที่มาในรูปของข้อความสแปม

10 พฤศจิกายน 2550

บทที่2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน
1.Input ทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อรับนำข้อมูลไปประมวลผล เช่น Keyboard, Mouse, Scanner, Microphone, Digital Camera เป็นต้น
2.Process เมื่อรับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนด เช่น การคำนวณภาษี คำนาณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น
3.Output การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลไปยังหน่วยแสดงผล ได้แก่ Monitor, Speaker, Printer เป็นต้น
4.Storage การจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น Hart Disk, CD-ROM, USB Flash Drive เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์ จำแนกเป็น 7 ประเภทดังนี้คือ
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีความสามารถในการประมาลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ใช้ในการพยากรณ์อากาศ การทดสอบอวกาศ เป็นต้น หน่วยง่านที่ใช้ได้แก่ NASA และหน่วยงานธุรกิจขนาดใหญ่
2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframe computer) สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ จัดเก็บข้อมูลได้มาก งานที่ใช้เช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
3.มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-range Computer/Server สามารถรองรับการใช้งานจากผู้ใช้หลายคนในงานที่แตกต่างกัน นิยมใช้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม เป็นต้น
4.คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC)เหมาะกับสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน นอกจากนี้ยังจำแนกได้ดังนี้
- All-in-one Computer จอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน
- Workstation ออกแบบเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟฟิก
- Stand-alone Computer สามารถทำงานที่เรียกว่า IPPOS cycle
- Server Computer สามารถทำงานใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
5.คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (NotebookComputer) สามารถใช้งานเช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เนื่องจากพกพาสะดวก
6.Hand-held Personal Computer มีขนาดเล็กที่สุดที่สามารถจัดการข้อมูลส่านบุคคล ตลอดจนใช้งานอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันที่นิยมใช้เช่น Pocket PC และ Paim
7 คอมพิวเตอร์แบบฝัง(Embedded Computer)เป็นการฝังอุปกรณ์การทำงานเฉพาะด้าน

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ
1.อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) ได้แก่ Keyboard, Mouse, Scanner, Microphone, Digital Camera เป็นต้น
2.หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ หน่วยควบคุม(Control Unit)ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน และหน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU)ที่คำนวณทางคณิตศาสตร์
3.หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ที่บรรจุอยู่ในเมนบอร์ด รู้จักกันทั่วไปมี 3 ประเภทคือ
-หน่วยความจำแรม (RAM) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่นิยมใช้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ SRAM และ DRAM
-หน่วยความจำรอม (ROM) เป็นหน่วยความจำที่บรรทึกข้อมูลและคำสั่งเริ่มต้น และข้อมูล คำสั่งจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่องหรื่อไฟฟ้าดับ
-หน่วยความจำซีมอส (CMOS) ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์เช่น ประเภทของแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ เครคื่องอ่นแผ่นดิสก์
4.อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้รับจากการประมาลผลข้อมูล เช่น Printer และ Monitor
5.อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices)
6.อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Devices)เป็นอุปกรณืที่ใช้สำหรับจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ในการประมาลผล เช่น ฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) ฮาร์ดิสก์ (Hard disk) คอมแพคดิสก์ (CD) และแผ่น DVD

การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
1.การกำหนดแนวทางจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจในยุคปัจจุบัน ดังนั้นควรวางแผนระยะยาวในเร่องของประสิธิภาพในอนาคตของฮาร์ดแวร์
2.การกำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์ คือการจัดหาอาร์ดแวร์ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกันความต้องการขององค์การอย่างแท้จริง
3.การจักทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) จำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.) ระบบปฏิบัติการ (Operating Sytem : OS) เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของกิจกรรมต่างๆระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และผู้ใช้งานกับโปรแกรมประยุกต์ ตัวอย่างเช่นระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์(LINUX) และระบบปฏิบัติการ Windows gxHo9ho
2.)โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และอุปกรณืต่างๆ ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและเสถียรภาพของคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรที่ช่วยจัดระเบีนบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์(Disk Defragmenter) โปรแกรมตรวจสอบไวรัส (Virus Scan) เป็นต้น
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) สามารถแบ่งตามประเภทงานได้ดังนี้
-โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor)เป็นโปรแกรมสำหรับสร้าง แก้ไข จัดรู้แบบ ตลอดจนจัดพิมพ์งานเอกสารให้อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น Microsoft Word เป็นต้น
-โปรแกรมด้านการคำนวณ (Spreadsheet) ที่เป็นลักษณะของ Worksheet ที่ประกอบไปด้วย เซลล์ แถว และคอลัมน์ สามารถพิมพ์ข้อมูลเป็นตัวเลข ตัวอักษร และสูตรคำนวณต่างๆแล้วโปรแกรมจะคำนวณโดยอัตโนมัติ และเมื่อมีการแก้ข้อมูลก็ปรับผลลัพธ์โดยอัตโนมัติ เช่น Microsoft Excel เป็นต้น
-โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล (Presentation) ที่สามารถสร้างเอกสารในรูปแบบแผ่นสไลด์ มีเทคนิคการนำเสนอที่ดึงดูดความสนใจในการนำเสนอ เช่น Microsoft PowerPoint เป็นต้น
-โปรแกรมการจัดการด้านฐานข้อมูล (Database) เป็นการสร้างฐานข้อมูล เพื่อนำไปจัดเก็บให้สามารถจัดการข้อมูลได้ และค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไข เช่น Microsoft Access เป็นต้น
-โปรแกรมด้านงานพิมพ์ (Desktop Publishing) ที่ช่วยผลิตสิ่งพิมพ์ต่างๆหลายรูปแบบ และช่วยออกแบบให้สิ่งพิมพ์ให้มีความสวยงามอีกด้วย เช่น Microsoft Publisher เป็นต้น
-โปรแกรมกราฟิก (Graphics) ที่ช่วยออกแบบ และตกแตงภาพที่มีอยู่ให้สวยงามและแตกต่างไปจากเดิม เช่น Adobe Photoshop เป็นต้น

ภาษาโปนแกรม
มนุษย์สื่อสารกันด้วยภาษาที่แตกกัน ขึ้นอยู่กับความเป็นมาและสภาพแวดล้อมของแต่ละชาติ ภาษาที่นิยมใช้สื่อสารกันปัจจุบันนี้ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน และอื่น ๆ ส่วนการสื่อสารของคอมพิวเตอร์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการสื่อสารของมนุษย์กล่าวคือมีภาษาที่แตกต่างกันจำนวนมากที่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เช่น ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาปาสคาล (PASCAL) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาซี ©
แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะรับคำสั่งจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีโครงสร้างแตกต่างกันได้ แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การรับคำสั่งในการทำงานคอมพิวเตอร์จะรับเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง

ประเภทของภาคอมพิวเตอร์ จำแนกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
-ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นเพียงภาษาเดียวที่สามารถสื่อสารได้กับคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง (Binary Digits หรือ bits) ที่ใช้เลข 0 และ 1 เป็นสัญลักษณ์แทนสัญญาณปิดและเปิดตามลำดับ
-ภาษาแอสแซมบลี Assembly Language เนื่องมาจากภาษาเครื่องยากแก่การเขียนโปรแกรม ภาษาในยุคที่สอง (Second- generation Language) ที่เรียกว่า ภาษาแอสแซมบลี ได้พัฒนาขึ้นที่จะใช้รหัสและสัญลักษณ์แทน 0 และ 1 ในการเขียนโปรแกรม
-ภาษาระดับสูง (High-level Languages) หรือภาษายุคที่สาม (Third-generation Languages) ภาษาเครื่องและภาษาแอสแซมบลียังมีข้อจำกัดในการนำไปพัฒนาโปรแกรม ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาระดับสูง (High-level Languages) ขึ้น ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้งาน สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันได้ (ไม่ผูกติดกับฮาร์ดแวร์)
-ภาษาระดับสูงเภท (Very High-level Languages) หรือภาษายุคที่สี่ (Fourth-generation Languages) ภาษาในยุคที่สี่จะใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษเหมือนในยุคที่สาม แต่ต่างกันที่ภาษาในยุคที่สี่จะเป็นภาษาแบบไม่เป็นโพรซีเยอร์ (Non-procedural) เป็นโปรแกรมเมอร์เพียงเขียนโปรแกรมสั่งว่าต้องการอะไร (what) โดยไม่ต้องเขียงคำสั่งอธิบายว่าต้องทำอย่างไร (how) ดังนั้นการเขียนโปรแกรมภาษาในยุคที่สี่จึงง่าย สะดวกและรวดเร็ว
ภาษายุคที่สี่ไม่ได้ถูกออกแบมาเพื่อทำงานด้วยตัวเองตามลำพัง ภาษายุคที่สี่จะต้องทำงานร่วมเกี่ยวกับภาษาอื่นที่สามารถทำงานเกี่ยวกับรับข้อมูล การแสดงผล และการคำนวณที่ซับซ้อน ภาษาลักษณะนี้เรียกว่า Host Laguage คำว่า Host แปลว่า เจ้าบ้าน ภาษายุคที่สี่จึงเปรียบเสมือนผู้อาศัยที่มาอาศัยอยู่กับเจ้าบ้าน และช่วยทำงานให้งานของเจ้าบ้านเสร็จเร็วขึ้น
-ภาษาธรรมชาติ (Natural languages) การเขียนโปรแกรมในยุคที่สี่ จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและโครงสร้างของภาษาอย่างเคร่งครัด แต่ในยุคของภาษาธรรมชาติอาจไม่จำเป็น แต่โดยปกติจะนำมาประยุกต์ใช้กับระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial lntelligence) ซึ่งนิยมใช้ในวงการแพทย์และธุรกิจ

การบริหารทรัพยากรซอฟต์แวร์
ทรัพยากรซอฟต์แวร์มีคุณค่าและมูลค่าไม่น้อยไปกว่าทรัพยากรฮาร์ดแวร์ การทำงานของทั้งสองสิ่งจำเป็นต้องประสานสอดคล้องกัน ในการตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวเนื่องกันโดยในการพิจารณานั้นควรจะคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
-การจัดหาทรัพยากรซอฟต์แวร์ ซึ่งมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์การ ตลอดจนลักษณะการคำนึงงานในส่วนต่าง ๆ การเลือกซอฟต์แวร์ว่าจะหามาด้วยวิธีให้บุคลากรในองค์การพัฒนาขึ้นมาเอง หรือจ้างบริษัทภายนอก
-การเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำหรับองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ประการ
1. ความเป็นมาตรฐาน
2. ความเหมาะสมและคุณสมบัติของซอฟต์แวร์นั้น ๆ
3. ความเข้ากันได้
















01 พฤศจิกายน 2550

กิจกรรมในห้องเรียน

สัปดาห์นี้ อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมการเรียงอักษรไข้ว ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับบทที่ 2 เรื่อง การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
*ขั้นตอนการทำงานพื้นฐานมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย*
1.การรับข้อมูล (Input) ทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล
2.การประมวลผล (Process) รับข้อมูลเข้าสู่ระบบ แล้วทำการประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด
3.การแสดงผล (Output) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผลที่แพร่หลายในปัจจุบัน
4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) ทำหน้าที่การจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล



-อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ สแกนเนอร์ ไมโครโฟน และกล้องดิจิทัล
-อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์ และลำโพง เป็นต้น
-อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรอง ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเกตต์ แผ่นซีดีรอม แผ่นดีวีดี และ USB Flash Drive
-อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำหลัก คือ แรม และอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล คือ ซิปซีพียู


ซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.) ซอฟต์แวร์ระบบ ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น ระบบปฏิบัติการหรือ OS และตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์
2.)ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่นโปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น


การบริหารทรัพยากรฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์นั้น ผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการทรัพยากรให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของวัฒนธรรม โครงสร้าง และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ขององค์การ โดยเฉพาะความพร้อมของบุคลากร

การเล่าข่าว

เว็บไซต์ Yahoo! ได้ทำการเพิ่มความสามารถในการเล่นไฟล์มัลติมีเดียให้กับโปรแกรมสนทนา ยังปรับปรุงให้ใช้บริการสามารถส่งไฟล์ขนาดใหญ่อีกด้วย จากการเปิดตัวให้สาธารณชนทดลองใช้งานแล้วด้วย จุดเด่นคือการเพิ่มคุณสมบัติการแชร์ไฟล์ในเว็บไซต์สังคมออนไลน์ และยังสามารถโพสต์ภาพและวีดีโอเพื่อให้คู่สนทนารายอื่นสามารถชมวิดีโอหรือภาพพร้อมข้อความประกอบได้
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถส่งข้อความจากความพิวเตอร์เข้าสู่โทรศัพท์มือถือได้ " และเชื่อว่าการแชร์ไฟล์จะโดนใจผู้ใช้ส่วนใหญ์"
ข่าวจาก: ผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 31 ตุลาคม 2550

28 ตุลาคม 2550

คำถามท้ายบทที่ 1

1.)ระบบสารสนเทศคืออะไร และระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร
ตอบ ระบบสารสนเทศ คือการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึ ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจระบบและสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ คือเช่นถ้ามีการสั่งซื้อสินค้าผ่าน Internet แล้วผู้ซื้อได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพก็จะทำให้ผู้ซื้อได้สินค้าไม่เหมาะสมราคาและไม่ตรงกับที่ตนเองต้องการถ้าหากเมื่อมีนำสินค้านั้นไปใช้กับกิจกรรมต่างๆก็จะทำให้ได้รับความเสียหายและเป็นอันตรายต่อตนเองได้

2.)ข้อมูลกับสารสนเทศ และสารสนเทศกับความรู้ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ข้อมูลกับสารสนเทศ แตกต่างกันดังนี้ ข้อมูลคือข้อเท็จจริงต่างๆที่ยังไม่มีการประมวลผล เช่น รูปภาพ สัญญาลักษณ์ เป็นต้น ส่วนสารสนเทศ คือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูลดิบ แสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ
สารสนเทศกับความรู้ แตกต่างกันตรงที่สารสนเทศ คือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูลดิบ ส่วนความรู้ คือการรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศที่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้

3.)ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทั่วๆ ไปมีอะไรบ้าง
ตอบ ส่วนประกอบหลังของสารสนเทศมี 3 ส่วนได้แก่
1. Input เป็นการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล
2. Processing การนำเอาข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้ได้ความหมายเพื่อใช้ในการตัดสินใจ วางแผน ควบคุม และดำเนินงาน
3. Output เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมาลผล

4.)ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (CBIS) คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์(CBIS)คือ การจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
2.ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
3.ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
4.เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
5.กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
6. คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ

5.)จงยกตัวอย่างระบบใดๆ มา 1 ระบบ พร้อมจำแนกส่วนประกอบและเป้าหมาย
ตอบ ระบบ ร้านก๋วยเตี๋ยว
ส่านประกอบ - ส่วนนำเข้า เส้นก๋วยเตี๋ยว ผัก เครื่องปรุง น้ำ แก๊ส โต๊ะเก้าอี้ คนงาน อื่นๆ
- ประมวลผล การลวกเส้นและน้ำก๋วยเตี่ยว
- ผลลัพธ์ ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส น้ำตก เย็นตาโฟ อื่น
เป้าหมาย ก๋วยเตี๋ยวที่มีรสชาติอร่อย ขายดี

27 ตุลาคม 2550

Iberry

1.) การที่ทางร้าน Iberry ได้นำไอทีเข้ามาช่วยบริหารงานนอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ในเรื่องของการบริหารจัดการร้านให้เป็นระบบระเบียบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถทำให้ควบคุมร้านแต่ละสาขาได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความรวดเร็วของงานหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การเข้าถึงผู้ซื้อ รวมถึงการขาย ให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

2.) ข้าเจ้าคิดว่าในอนาคตร้าน Iberry สามารถนำไอทีมาช่วยงานด้าน
1. ช่วยในการตลาด คือ การโฆษณาสินค้าทาง Internet ให้ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าทาง Internet ได้
2. ช่วยในด้านการลงเวลางานของพนักงานให้ถูกต้องและรวดเร็ว
3. ช่วยในด้านการเงิน คือ ชำระเงินผ่านเครื่องคิดเงินอัตโนมัติ

3.) นำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจส่วนตัว ร้านมินิมาร์ท ที่มีหลายสาขา เช่น การควบคุมดูแลพนักงานแต่ละสาขา โดยใช้ CCTV ด้วยระบบ Network Camera รวมถึงการลงเวลางานของพนักงาน และการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการขาย เป็นต้น