22 กุมภาพันธ์ 2551

บทสรุป จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศ หรืออาจหมายถึง หลักเกณฑ์แนวทางการปฏิบัติร่วมกันในสังคม
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศจะกล่าวถึงใน 4 ประเด็นคือ
1.ความเป็นส่วนตัว
2.ความถูกต้อง
3.ความเป็นเจ้าของ และ
4.การเข้าถึงข้อมูล

ในด้านกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเทศไทยก็ได้มีการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 6 ฉบับ
คือ
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ
6. กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๘ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงการก่อกวนโดยกลุ่มแฮกเกอร์ เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ การทำลายข้อมูลและอุปกรณ์ เป็นต้น คอมพิวเตอร์เป็นทั้งข้อมูลและเป้าหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ เช่น ใช้ในการขโมยเงิน รายชื่อลูกค้า ข้อมูลส่วนบุคคล หมายเลขบัตรเครดิต และอื่นๆ ส่วนคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเป้าหมายของการก่ออาชญากรรม เช่นแฮกเกอร์ ทำลายระบบของผู้อื่น

วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์จากบุคคลที่ไม่รับอนุญาตมีดังนี้
1. การใช้ Username หรือ User ID และรหัสผ่าน (Password)
2. การใช้วัตถุใดๆเพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่บัตรหรือกุญแจ
3. การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
4. ระบบเรียกกลับ เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้ระบบปลายทาง

เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือทางการเรียนรู้ ที่สามารถบั่นทอนความรู้สึกได้ หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง การนำนโยบายเกี่ยวกับจริยธรรม การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็นหน่วยงานต่างๆ ควรกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกัน และผู้ใช้ก็ควรที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด อีกทั้งช่วยกันสอดส่องดูแลและป้องกันอาชญากรรมตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่

บทที่ 9 ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

ปัญญาประดิษฐ์ (ARTIFICIAL INTELLIGENCE : AI)
ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป้าหมายของปัญญาประดิษฐ์คือการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ตั้งแต่ เห็น ฟัง เดิน พูด และรู้สึก รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์

ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
1. ข้อมูลจะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ
2. ระบบจะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฐานความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน
3. ระบบจะถูกนำมาช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์
4. ระบบจะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์มาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ (EXPERT SYSTEMS)
เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจ โดยจะเกี่ยวข้องกับการจัดความรู้ มากกว่าสารสนเทศทั่วไป และจะถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ ระบบผู้เชี่ยวชาญจัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติดตั้งใช้งานมากที่สุด ระบบจะทำการโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ

ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
1. ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้
2. จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้ผู้บริหารจำนวนมากๆ พร้อมกัน
3. สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิพลให้กับผู้ใช้
4. ช่วยให้การตัดสินใจแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5. ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEMS : GIS)
เป็นกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์ กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น สัมพันธ์ ที่อยู่ บ้านเลขที่ กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่งเส้นรุ่ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
1. ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจากการทำงานด้วยมือแบบเดิม
2. แก้ปัญหาความล่าช้าของข้อมูลโดยสามารถแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ระดับหนึ่ง
4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้และยังทำให้เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
5. สามารถควบคุมความเป็นมาตรฐานได้
6. สามรถจัดหาระบบความปลอดภัยที่รัดกุมได้
7. สามารถควบคุมความคงสภาพของข้อมูลได้

คำถามบทที่ 8 ระบบESS

1. อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง ระบบนี้ช่วยเพื่มขีดความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร
- ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนในการตัดสินใจประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับการพัฒนามาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการแก้ปัญหา แบบไม่มีโครงสร้างผู้บริหารใช้ ESS เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก

2. ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารระดับสูงมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
- ลักษณะของข้อมูล เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์การที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ส่วนแหล่งข้อมูลมี ๓ แหล่ง ได้แก่ข้อมูลภายใน ภายนอก และ ข่าวสารมี่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

3. ลักษณะของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง และความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงต่อความสำเร็จระบบเป็นอย่างไร
- ลักษณะของ ESS คือ
1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
3. เชื่อมโยงกับข้อมูลภายนอก
4. สามารถประมวลผลรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
6. มีระบบรักษาความปลอดภัย

4.อินเทอร์เน็ตช่วยในการสนับสนุนการทำงานจองระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงอย่างไร
- อินเทอร์เน็ต เป็นตัวสนับสนุนที่ช่วยต่อการดำเนินงานขององค์การใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในองค์การ หรื่อเชื่อมโยงกับแหล่งของข้อมูลภายนอกองค์การได้

5. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แตกต่างกันอย่างไร
- ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเป็นเพียงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล แต่ยังมาสามารถจะสรุปอะไรได้ แต่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นกระบวนการคัดเลือกคัดสรร มีการตั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ

18 กุมภาพันธ์ 2551

กรณีศึกษาบทที่ 14 การโมตีแบบฟิชชิ่งลูกค้าธนาคาร

1.การกระทำดังกล่าวเป็นเทคนิคการโจมตีแบบฟิชชิ่งอย่างไร
คือ เป็นการฉ้อโกง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรม โดยทางผู้ไม่หวังดีจัดทำหน้าเว็บที่คล้ายกับหน้าเว็บจริงของธนาคารขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้ากรอบข้อมูลส่วนตัว เกี่ยวกับการเงินไปยังกลุ่มที่ไม่หวังดี เช่น การส่งหมายเลขบัตรเครดิต รหัสผ่าน โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว ว่ากำลังถูกหลอก

2.ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการโจมตึแบบฟิชชิ่งมา 2 ตัวอย่าง
คือ

2.1 การแอบอ้างตัว เช่น นาย ก. แอบอ้างตนว่าเป็นนาย ข. โดยการส่งอีเมล์และเอกสารปลอมที่เสดงตนว่าเป็นนาย ข. จริงเพื่อขอเปลี่ยนแปลงเจ้าของเว็บไซต์จากนาย ข. เป็นนาย ก. ดังนั้นนาย ก. ก็จะได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าสิทธิในการใช้ที่อยู่อินเทอร์เน็ตนั้น
2.2 การฉ้อโกง หรือการสแกมทางคอมพิวเตอร์ คือ การส่งข้อความหรือโฆษณาบนเว็บไซต์ว่าท่านสามารถเดินทางเข้าพัก/ท่องเที่ยวแบบหรูในราคาถูก แต่เมื่อไปใช้บริการจริง กลับไม่เป็นอย่างที่บอกไว้หรือในบางครั้งอาจต้องมีการจ่ายเพิ่มเติมซึ่งไม่ได้แจ้งไว้ล่างหน้า

3.ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงและป้องกันกลลวงจากฟิชชิ่งได้อย่างไร
คือ

3.1. การใช้ Username หรือ User ID และรหัสผ่าน (Passwoed)
3.2. การใช้วัตถุใด ๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตรหรือกุญแจ
3.3. เป็นการใช้อุปกรณ์ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตให้ใช้ ระบบ เป็นต้น


คำถามท้ายบท

1.อธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
ไวรัส เวิร์ม คือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเอง เช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจาย จากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”
ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์
2.สปายแวร์ Sotware คือ อะไร และมีวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมฯ ได้อย่างไร
คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรม
Ad-aware ,Spycop เป็นต้น

3.ท่านมีวิธิการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมล์อย่างไรบ้าง
คือ

3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์
4. ท่านคิดว่าปัญหาในเรื่องความปลอดภัยใดบ้างที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตในองค์การธุรกิจ และจะมีวิธีป้องกันหรือแก้ไข้ปัญหาอย่างไร
คือ ปัญหาในเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นโดยป้องกันปัญหานั้น คือ ควรมีระบบตรวจสอบการเข้าใช้ เพื่อทำการอนุญาตการใช้ระบบนั้น เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามอ ลายเซ็น และรูปหน้า เป็นต้น โดยอุปกรณ์จะทำการแปลงลักษณะส่วนบุคคลให้อยู่ในรูปของดิจิทัล แล้วทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลใน คอมพิวเตอร์ ถ้าข้อมูลไม่ตรงกับคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ก็จะปฏิเสธการเข้าสู่ระบบ

5. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต คิดว่าอย่างไร
คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ

6.1. คิดว่าการสอดส่องของผู้บริหารฝ่ายจัดการข้อมูลนั้น ได้ผิดจริยธรรม เพราะว่าพนักงานถึงจะใช้ระบบอีเมล์เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ก็ต้องดูด้วยว่าใช้ในเวลาทำงาน หรือว่าเวลาว่างไม่ควรด่าว่าให้กับพนักงาน
6.2. การใช้อีเมล์เพื่อการสื่อสารส่านตัวของพนักงาน คิดว่า ไม่ผิดจริยธรรม เพราะว่าการใช้อีเมล์ของ นอกจากที่ได้กล่าวไว้แล้ว อาจใช้ติดต่อกับลูกค้าเป็นการส่วนตัวก็ได้
6.3. การที่ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยได้ส่งรายชื่อพนักงานให้กับผู้บริหาร ไม่ผิดจริยธรรม แต่การทำงานร่วมกันควรตักเตือนก่อนและให้คำเสนอแนะที่ดีแก่พนักงานเหล่านั้น
6.4. การลงทาพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรม เพราะว่า การลงโทษพนักงานที่ทำงานมาด้วยกัน ไม่รู้กี่ปีต่อกี่ปี นั้น อาจทำให้พนักงานเสียขวัญและกำลังใจในการทำงานก็ได้ และพนักงานบางคนอาจลาออกจากงาน ก็จะส่งผลกระทบในตำแหน่งงานนั้นด้วยตามมา

6.5. คิดว่าบริษัทควรแก้ไขในการดำเนินครั้งนี้ คือ ควรจัดการอบรมให้กับพนักงานทั้งหมดในเรื่องของการใช้อีเมล์ และกำหนดให้ใช้อีเมล์ในการติดต่อกับลูก

"คำถามท้ายบท"

1.สารสนเทศกับความรู้คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
สารสนเทศกับความรู้ต่างกัน คือ ความรู้คือการผสมผสานของประสบการณ์ ส่วนสารสนเทศ คือ ความเข้าใจ ทักษะและความเชี่ยวชาญ รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียนเพื่อที่สามารถถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น ๆ ได้

2.การจัดการความรู้มีความสำคัญต่อองค์การในปัจจุบันอย่างไร
เป็นกระบวนการที่เป้ฯระบบ หมวดหมู่ ง่ายต่อการสรรหา การเลือก การรวบรวมจัดระบบที่คนในองค์การสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อที่จะพัฒนาตนองให้มีความสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ

3.เทคโนโลยีสารสนเทศมีการถูกนำไปใช้ในการจัดการความรู้ได้อย่างไรบ้าง
คือ
3.1 เป็นระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
3.2 การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
3.3 เป็นการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
3.4 เป็นระบบประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์
3.5 การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย
3.6 การสนับสนุนการทำงานเป็นทีม
3.7 การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์

4.เว็บศูนย์รวม (Enterprise Konwledge Portal) และ บล็อก (Blog หรือ Weblog) สำหรับการจัดการความรู้ในองค์การ ต่างกันอย่างไร มีประโยชน์ต่อองค์การอย่างไรบ้าง
ต่างกันคือ เว็บศูนย์ (Enterprise Konwledge Portal) เป็นการบูรราการความรู้ กลไกลการรายงาน และทำงานร่วมกัน ส่วน (Blog หรือ Weblog) เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ผ่านพื้นที่ Cyber Space ทั่งสองเว็บนี้มีประโยชน์ต่อองค์การ คือเป็นเว็บที่เผยแพร่ความรู้หรือประสบการณ์ เรื่องเล่า ขององค์การ เป็นต้น

5. ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการการจัดการความรู้ขององค์การให้ประสบความสำเร็จ พร้อมยกตัวอย่าง
คือ
5.1 การที่ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้บริหาร เช่น บริษัท ทรู จะจัดโครงการความรู้ ขึ้นมานั้นต้องได้รับกากรอนุมัติ หรือการสนับสนุนจากผู้บริหารก่อน โครงการถึงจะเริ่มได้
5.2 มีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น บริษัท ทรู กำหนดว่าการจัดทำโครงการความรู้ ขึ้นมาครั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และเผยแพร่ความรู้ กับกลุ่มคนในองค์การ
5.3 มีวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ เช่น โครงการความรู้ที่จะจัดขึ้นมานั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องเสนอแนวคิดต่อที่ประชุม หรือการแลกเปลี่ยนความรู้ ในการจัดโครงการความรู้ครั้งนี้
5.4 มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ทางบริษัท นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาจัดโครงการความรู้
5.5 ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ เช่น บริษัท ทรู จัดโครงการความรู้ ขึ้นมา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบให้ดี
5.6 มีการวัดผล เช่น โครงการความรู้ที่จัดทำขึ้นมานั้น ทางบริษัท ต้องจัดคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อตรวจสอบ และวัดผลการจัดโครงการความรู้ครั้งนี้ ให้สามารถที่จะสรุปงานต่อผู้บริหารได้อย่างถูกต้อง
5.7 มีการพัฒนาการจัดการความรู้สม่ำเสมอ เช่น ทางคณะผู้เกี่ยวข้องกับโครงการความรู้ ต้องช่วยการนำแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อ บริษัท มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์
ที่กล่าวมาข้าง ต้น เป็นปัจจัยต่อการจัดการความรู้เพื่อที่จะทำให้องค์การ หรือบริษัท ได้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน และสามารสร้างความได้เปรียบทางการค้ากับองค์การด้วย

กรณีการศึกษา บทที่ 13 บริษัท ทรู คอร์ปเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับการจัดการความรู้

1.เป้าหมายในการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และยุทธศาสตร์ของบริษัทเกี่ยวข้องกันอย่างไร
เป้าหมายและยุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกัน คือ เป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าโดยการพัฒนาการดำเนินงาน และการแข่งขันทางศักยภาพขององค์การ

2.เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้างที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยี บล็อก (Blog หรือ Weblog) จะสามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้อย่างไร
คือ ก่อนที่จะนำ (Blog หรือ Weblog) มาใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ (Blog หรือ Weblog) ก่อนและสร้าง บล็อก ขึ้นมาเพื่อเป็นการสนับสนุนในด้านการแช่ร์ประสบการณ์ และเปลี่ยนความรู้ ผ่าน (Blog )

09 กุมภาพันธ์ 2551

กรณีการศึกษาบทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

1. วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศมีหลายวิธีด้วยกัน ในกรณีของระบบติดตามอากาศยานข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของวิทยุการบิน ฯ ท่านคิดว่าควรเลือกใช้วิธีหรือแนวทางใดเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบดังกล่าว

-ในการได้มาของระบบต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้น ควรเลือกใช้แนวทางในการพัฒนาระบบ คือ
1. การกำหนดและเลือกโครงการ
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
3. การวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบระบบ
5. การพัฒนาและติดตังระบบ
6. การบำรุงรักษา
โดยที่วงจรของการพัฒนาระบบจะมีการกำหนดรูปแบบในการพัฒนาอย่างมีแบบแผน ขึ้นอยู่กับลักษณะวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของแต่ละระบบให้เหมาะสมและบรรลุผลตามกรอบ เวลา ที่กำหนด และนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


2.ระบบติดตามอากาศยานมีความสำคัญต่อวิทยุการบินฯ อย่างไร และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะได้รับผลกระทบจากการนระบบนี้มาใช้หรือไม่
-ระบบมีความสำต่อวิทยุการบินฯ ในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน การควบคุมจราจรทางอากาศ และการให้บริการจราจรทางอากาศบริเวณสนามบินทุกแห่งของประเทศ เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะไม่ได้รับผลกระทบจากการนำระบบนี้มาใช้เพราะ ระบบที่เจ้าหน้าที่ควบคุมอยู่ได้รับการพัฒนาที่มาตรฐาน ส่วนเจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกอบรมในการใช้ระบบควบคุมเพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดระหว่างใช้งาน และระบบได้มีการเชื่อมโยงโดยมีระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลข้อมูลและสร้างฟังก์ชันการทำงานให้มีศักยภาพของสนามบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบไฟฟ้าสนามบิน แลระบบสารสนเทศสนามบินของบริษัทท่าอากาศยาน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้และสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งมีระบบติดตั้งหอบังคับการบินสำหรับกรณีฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยในการบินและมิให้การบินต้องหยุดชุงัด



คำถาม เกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1.เหตุใดองค์การจึงต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
-เพราะ ระบบงานเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือการทำงานได้ตามต้องการ ในขณะที่กำลังดำเนินงานที่มีหลายขั้นตอน เกิดความยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูล เพื่อที่จะนำข้อมูลเทหล่านั้นมาทำการสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงาน และไม่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้กับผู้บริหาร ได้เป็นอย่างดี จึงจำเป็นต้องมากรปรับเปลี่ยนพัฒนาระบบ เพื่อสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และกระบวนการบิหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบอย่างไร และหากท่านต้องการเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่มีคุณภาพท่านควรต้องมีทักษะในด้านใดบ้าง
-นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญ คือ ศึกษาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบงานและความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์ออกแบบระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ให้ และถ้าหากต้องการนักวิเคราะห์ระบบที่มีคุณภาพต้องมีทักษะในด้านเทคนิค ด้านการวิเคราะห์ ด้านบริหารจัดการ และด้านการติดต่อสื่อสาร

3.ขั้นตอนในการพัฒนาระบบและผลลัพธ์ที่ได้จากแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง
-ผลลัทธ์จากการกำหนดและเลือกสรรโครงการ มี 4 ขั้นตอนในการพิจารณาระบบ
3.1 อนุมัติโครงการ คือให้ดำเนินโครงการในขั้นตอนการพัฒนาระบบต่อไป
3.2 ชะลอโครงการ คือ เนื่องขากองค์การยังไม่มีความพร้อม
3.3 ทบทวนโครงการ คือ โดยให้นำโครงการไปปรับแก้แล้วจึงนำเสนอ
3.4 ไม่อนุญาติ คือ ไม่มีการดำเนินโครงการนั้นต่อไป
ผลลัทธ์ ของการเริ่มต้นและวางแผนโครงการ คือ แผนงานของโครงการและรายงานการสำรวจระบบเบื้องต้น

ผลลัทธ์ ของการวิเคราะห์ระบบ คือ เป็นการรายงานการวิเคราะห์ระบบซึ่งจะแสดงรายละเอียดในการวิเคราะห์ระบบปัจจุบัน
ผลลัทธ์ ของการออกแบบระบบ คือ รายงานการออกแบบระบบซึ่งจะแสดงการออกแบบระบบทั้งหมด
ผลลัทธ์ ของการดำเนินการระบบ คือ เพื่อสร้างระบบและติดตั้งระบบจากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด

4.แรงจูงใจต่อการเลือกแหล่งภายนอกให้มาพัฒนาหรือดูแลระบบสารสนเทศให้กับองค์การมีอะไรบ้าง และวิธีนี้มีข้อพังระวังอย่างไร

-ระบบประกอบด้วย
ข้อพึงระวัง
4.1. ด้านความคุ้มค่าทางการเงิน -อำนาจในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศลดลง
4.2 ด้านคุณภาพและความยืดหยุ่นในการทำงาน -การรั่วไหลของข้อมูล
4.3 ด้านความสามารถในการแข่งขัน -ความไม่สนใจติดตาดความรู้ด้านเทคโนโลยี
-การพึ่งพิงผู้ให้บริการ

5.ท่านคิดว่าปัจจัยของการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จควรประกอบด้วยอะไรบ้าง
-ปัจจัยของการพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วย
5.1 การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
5.2 มีการกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ชัดเจน
5.3 มีทีมงานพัฒนาที่มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบ
5.4 มีความสามรถในการรวบรวมปัญหาและความต้องการของระบบ
5.5 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
5.6 มีการบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนอย่างมีประสิทธิภาพ

04 กุมภาพันธ์ 2551

กรณีการศึกษาบทที่ 11

ต.ย.ที่ 1 ธุรกิจอะไหล่ยนต์
1. บริษัทมีวัตถุประสงค์อย่างไรในการนำเอาระบบ ERP มาใช้
เพื่อรองรับการขยายตัวของ บริษัท ในอนาคตและเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการบริหารคลังสินค้า และการให้ข่าวสารกับลูกค้า
2.ก่อนนำเองระบบ ERP มาใช้ และเมื่อใช้ระบบ ERP สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
- ก่อนนำเอาระบบมาใช้ บริษัท ได้จัดเก็บสินค้าทั้งหมดไว้ภายในบริษัท เช่น การบริการและให้ข้อมูลข่าวสารกับลูกค้า ทุกภาคในประเทศไทย ซึ่งข่าวสารที่ส่งเสริมการขายของบริษัท ลูกค้าบางกลุ่มได้ทราบข่าวสารก่อน แต่บางกลุ่มลูกค้าต้องอาศัยทีมงานของบริษัทที่จะให้ข่าวในการสั่งสินค้าตามรายการในอีกสองวันข้างหน้าเพื่อที่จะสั่งสินค้าตามรายการ ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ได้รับข่าวสารล่าช้า บางครั้งต้องทำให้สินค้าหมดไปก็ได้
- นำระบบ ERP มาใช้สามารถแก่ไขปัญหาได้ คือ ทางบริษัทเมื่อเปลี่ยนระบบ มาเป็น ERP ทำให้การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการซื้อและติดตั้งคอมพิวเตอร์เพื่อที่สามารถเรียกดูข้อมูลโดยไม่ต้องรอวันถัดไปและสามารถตรวจสอบดูยอดการสั่งซื้อว่าตรงตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่

ต.ย.ที่ 2 ดันกิ้นโดนัท
1. การนำเอาระบบ ERP มาใช้ช่วยให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการกับวัตถุดิบให้มีจำนวนพอเหมาะกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละสาขา ช่วยประปรุงกรบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีการเชื่อมโยงและเก็บรวบรวมข้อมูลของแต่ละสาขาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ฝ้ายตลาดสามารับข้อมูลขายของแต่สาขาได้
2.ระบบ ERP ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารอย่างไร
ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารด้านการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์แนวโน้มและวางแผนการบริหารงานได้อย่างทันท่วงที

กรณีการศึกษาบทที่ 11

1.ระบบที่ใช้ในบริษัทเซผรอน เทคซาโก จัดว่าเป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์การแบบขยายขีดความสามารถ (Extended ERP) อย่างไร
เพื่อกำหนดปริมาณของน้ำมันที่ควรจะกลั่นเป็นรายเดือน รายวัน ด้วยการตรวจสอบการวางแผนเพื่อการทำกำไรเพิ่มขึ้น ด้วยความสามารถในการกลั่นและการค้าปลีกที่เท่ากัน และอาจสามารถทำนายความต้องการต่อการใช้จ่ายก็ได้
2.ประโยชน์ที่ทางบริษัทเซฟรอน เทซาโก ได้รับหลังจากการเปลี่ยนระบบมีอะไรบ้าง
ด้านการเติมก๊าซที่มีช่องเติมน้ำมันอย่างน้อย 8 ช่อง มีการบริการล้างรถที่มีอุปกรที่ทันสมัย ที่ไม่สามเห็นได้โดยคนขับรถ แต่ละแท็งก์ควบคุมโดยจอที่ดูระดับแบบอิเล็กทรอนิกส์ จอจะทำการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับสถานะของแท็งก์เข้ากับสายเคเบิลไปยังระบบการจัดการของสถานี แล้วส่งเป็นสัญญาณดาวเทียมไปยังระบบบริหารสินค้าของสำนักงาน เมื่อระดับของก๊าซในแท็งก์ต่ำกว่าระดับที่กำหนด ข้อมูลจะส่งไปทำให้สถานีไม่ขาดแคลงก๊าซ
3.ท่านสามารถจะเสนอแนะแนวทางในการนำระบบ ERP มาใช้ปฏิรูปองค์การธุรกิจได้อย่างไรบ้าง
-1. การศึกษาและวางแนวคิด พิจารณาว่า องค์การต้องการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน หรือไม่ และจำเป็นต้องนำระบบมาใช้เพื่ออะไร
-2. การวางแผนนำระบบมาใช้ ต้องมีเป้าหมายและขอบข่ายของการนำระบบมาใช้ โดยต้องผ่านการอนุมัติจากผู้บริหารก่อน
-3. การพัฒนาระบบ ว่าระยะเวลาในการพัฒนาระบบต้องมีการระบุ เป้าหมาย พร้อมสำรวจว่าปัจจุบันต้องปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร
-4. การนำระบบมาใช้งานต้องประเมินผล เพื่อสามารถนำข้อมูลมาแก้ไขและขยายขีดความสามารถ
ให้กับ ระบบได้อย่างเหมาะสม

กรณีการศึกษาบทที่ 10

1.สายการบินนกแอร์มีการนำไอทีมาประยุกต์ในเพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไร
การนำไอทีมาช่วยการดำเนินงานทุกส่วน ทั้งระบบฟรอนต์ เอนด์ และแบ็ก เอนด์ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องคง และงานที่เป็นแบบแมนนวลลง

2.จากกรอบแนวคิดของไวส์แมน สายการบินนกแอร์มีการใช้ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ในด้านใด บ้าง
2.1 กลยุทธ์ทางด้านความแตกต่าง เช่น สายการบินฯ เปิดให้ลูกค้าสามารถสำรองที่นั่งผ่านเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
2.2 กลยุทธ์ทางด้านราคา เช่น การตั้งราคาตั๋ว โดยจะตั้งราคาที่ต่ำกว่าสายการบินอื่น ๆ หากลูกค้ามีการวางแผนและจองตั๋วล่วงหน้าก็จะได้ราที่ถูกกว่า

กรณีการศึกษาบทที่ 9

1.ระบบ Authoriszer’s Assistant ช่วยปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของบริษัท เมริกัน เอ็กซ์เพรสอย่างไร
เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเชื่องต่อกับเครื่อง ไอบีเอ็ม เพื่อดึงข้อมูลของลูกค้าจากฐานข้อมูลไอเอ็มเอสมากประกอบการตัดสินใจ

2.ข้อดีของระบบ Authoriszer’s Assistant ที่นำมาใช้ในการประเมินพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของลูกค้าในระหว่างการตัดสินใจเพื่อพิจารณาอนุมัติ หรือให้คำแนะนำ
คือ ระบบจะดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลมา ประเมินผล และตัดสินใจ หรือให้คำแนะนำ ว่าควรจะอนุมัติยอดการใช้จ่ายดังกล่าวหรือไม่ ระบบจะมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมของลูกค้าจากร้านค้า เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน จากกระบวนการไม่จำเป็นต้องใช้การพิจารณาของมนุษย์ เพราะระบบทำการตัดสินใจและส่งข้อมูลผ่านการตัดสินใจให้กับเจ้าหน้าที่พิจารณาด้วยตนเอง พร้อมคำแนะนำที่จะใช้ในการพิจารณาอนุมัติ แต่ถ้าหากเจ้าหน้าที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินของระบบ เจ้าหน้าที่สามารถใช้การตัดสินใจของตนเองแทนได้

3.ท่านคิดว่าระบบ Authoriszer’s Assistant ช่วยสนับสนุนการบริการลูกค้าหรือไม่ เพราะเหตุใด
ไม่ เพราะว่า ระบบ Authoriszer’s Assistant เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยพิจารณาการอนุมัติวงเงินของบัตรเครดิตของลูกค้า

4.ข้อมูลที่ไดจากระบบ Authoriszer’s Assistant จะถูกใช้โดยแผนกลงทุนและประกันของบริษัทได้อย่างไร และข้อมูลจากแผนกส่งเสริมลงทุนและประกันจะถูกนำมาใช้ในการให้คำแนะนำของระบบ Authoriszer’s Assistant อย่างไร
คือ ข้อมูลที่ได้จากระบบ Authoriszer’s Assistant แผนกสามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล ไอเอ็มเอส มาประกอบการตัดสินใจได้ เมื่อระบบดึงข้อมูลมา ก็ทำการวิเคราะห์ ประเมินผลการตัดสินใจ หรือให้คำแนะนำ ว่าควรอนุมัติยอดการใช้จ่ายหรือไม่ และหากมีการเตือนถึงความไม่ชองมาพากล ระบบจะขอให้ร้านค้าให้ข้อมูลเพิ่มเติม

5.ระบบเครือข่ายนิวรอน จะช่วยปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้อย่างไร และจะถูกนำมาใช้ในแผนกส่งเสริมการลงทุนและประกันได้อย่างไร
ช่วยในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินและถูกนำมาใช้ในแผนกการลงทุนและประกันในการตรวจสอบหาการฉ้อโกงด้วยบัตรเครดิต โดยการตรวจสอบรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นของ บริษัทบัตรเครดิต

20 มกราคม 2551

กรณีการศึกษาบทที่ 8

1.การกำหนดอัตราค่าเช่ารถแต่ละประเภทต้องพิจารณาปัจจัยดังนี้
พิจารณาจาก สารสนเทศเกี่ยวกับสถานที่ ช่วงเทศกาลที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การสนับสนุน ข้อมูลคู่แข่งขัน รวมถึงพฤติกรราของลูกค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากจึงต้องการอาศัยระบบ มาช่วยในการตัดสินใจ

2.เพราะเทตุใด บริษัทเฮิร์ตซ์ จึงนำเอาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงมาใช้

เพราะสามารถสร้างทางเลือกในการตัดสินใจ และมีความสำคัญด้านเชิงกลยุทธ์ได้รวดเร็ว สามารถเข้าถึงข้อมูลในรายละเอียดเป็นระดับลงมาได้รวมถึงความสามารถในการดึงเอาข้อมูลจาก Data Warehouse มาใช้ช่วยวิเคราะห์ของผู้บริหารระดับสูง เพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และช่วยในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไป 1.การกำหนดอัตราค่าเช่ารถแต่ละประเภทต้องพิจารณาปัจจัยดังนี้
พิจารณาจาก สารสนเทศเกี่ยวกับสถานที่ ช่วงเทศกาลที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การสนับสนุน ข้อมูลคู่แข่งขัน รวมถึงพฤติกรราของลูกค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากจึงต้องการอาศัยระบบ มาช่วยในการตัดสินใจ

13 มกราคม 2551

กรณีการศึกษาบทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร

(1)
1.1 จำเป็นต้องอาศัยระบบ DSS มาช่วยในการตัดสินใจด้วย เพราะว่า การที่จะสร้างบ้านพักทหาร เป็นการซับซ้อนมากหรืออาจเกิดความผิดพลาดก็ได้ ถ้า ไม่มีระบบช่วยในการตัดสินใจ แต่การที่ใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจนั้นสร้างทางเลือกได้หลายๆ ทางเลือกในการตักสินใจ และถ้าตัดสินใจไปแล้วเกิดการผิดพลาดหรือไม่บรรลุตามเป้าหมายก็ยังสามารถมาทำการตัดสินใจได้โดยขั้นตอนการตัดสินใจอีกจนกว่าผลสำเร็จ
1.2 ใช้ระบบสนับสนุนการตักสินใจแบบจำลองของระบบ GDSS ซี่งเป็นระบบที่สามารถสร้างทางเลือกในการตัดสินใจโดยที่ สร้างแบบจำลองบ้านพักทหารตามที่ต้องการ แล้วนำมาทำการวิเคราะห์หรือประชุมหาข้อสรุป ทำการตัดสินใจ

(2) องค์ประกอบหลักจองระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไร
2.1 ฐานข้อมูล Databasc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน
- Off-Post Data ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ
- On-post Data แหล่งข้อมูลภายในและภายนอกของบ้านพักทหารและฐานทัพ
2.2 ฐานแบบจำลอง Model Basc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน
- Regional Economic Model For the Area
- Mocificd Schment Housing Market Analysis

04 มกราคม 2551

หัวข้อข่าวไอที

ซอฟแวร์เติมชีวิตให้หุ่นยนต์ ม.รังสิตตั้งเป้าหุ่นนักแสดงละครสั้น
มหาวิทยาลัยรังสิตได้ทำการตกลงและจับมือกับนักวิจัยออสเตรเลียด้านการพัฒนาซอฟแวร์ เพื่อเติมความสามารถให้หุ่นยนต์ที่ วื่อว่า โรโบซาเปียน ทำการรำไทย แดนซ์และการสร้างความสัมพันธ์กับมนุษย์โดยที่หุ่นยนต์ตัวนี้มีการเพิ่มคำสั่งให้หุ่นยนต์สามารถพูดคำอวยพรเป็นภาษาอังกฤษว่า เมอร์รี่ครสต์มาส เป็นเสียงที่อัดไว้ในหน่วยความจำ และได้ตั้งค่าให้ตอบกลับเมื่อได้รับคำสั่งจากคนรอบข้าง เพื่อขยายโอกาสให้แก่ผู้ที่ครอบครองหุ่นยนต์โรโบซาเปียนและทำงานให้หุ่นยนต์กลายเป็นมิตร

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

สัปดาห์นี้ เรื่องระบบสนับสนุนการตัดสินใจในหัวข้อ ดังนี้
1.ระดับของการจัดการ ประกอบด้วย
-การจัดการระดับสูง (Upper level)
-การจัดการระดับกลาง (Middie level)
-การจัดการระดับต้น (Lower level)

2.การตัดสินใจ ประกอบด้วย
-การใช้ความคิดประกอบเหตุผล คือ การตระหนักถึงปัญหาหรือโอกาสที่เกิดขึ้น แล้วเก็บรวมรวมข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ตรวจสอบให้ถูก
-การออกแบบ คือ รู้ถึงปัญหาและโอกาส ก็นำมาวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้ และตรวจสอบแก้ไขปัญหา
-การคัดเลือก Choice เมื่อได้ทางเลือกก็ทำการตัดสินใจทางเลือกที่เหมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์ หรืออาจใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์
-การนำไปใช้ เมื่อตัดสินใจแล้วติดตามผลการดำเนินงานว่ามีประสิทธิภาพหรือข้อขัดข้อง แล้วนำมาแก้ไขให้
.สอดคล้องกับสถานการณ์
-การตรวจสอบประสิทธิภาพของการตัดสินใจ (Monitoring) ตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นหลังจากการตัดสินใจ ถ้ามีข้อมูลใดที่ผิดพลาดก็สามารถเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจได้อีกครั้ง

3.ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ ประกอบด้วย
-การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เช่นการกำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาวเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
-การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี การตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง เกี่ยวกับด้านการจัดการการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย และประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงกับผู้บริหารระดับปฏิบัติการ
-การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ การตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างาน เช่นการวางแผนการเบิกจ่ายวัสดุ
4.ประเภทของการตัดสินใจ ประกอบด้วย
-การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง การตัดสินของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ที่มีขั้นตอนกระบวนการแก้ปัญหาที่
แน่ชัด
-การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง คือ การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
-การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจผู้บริหารระดับกลาง ที่เกี่ยวกับปัญหาที่สามารถระบุกระบวนการปรือวิธีการตัดสินใจล่วงหน้า บางส่วน