22 กุมภาพันธ์ 2551

บทสรุป จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศ หรืออาจหมายถึง หลักเกณฑ์แนวทางการปฏิบัติร่วมกันในสังคม
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศจะกล่าวถึงใน 4 ประเด็นคือ
1.ความเป็นส่วนตัว
2.ความถูกต้อง
3.ความเป็นเจ้าของ และ
4.การเข้าถึงข้อมูล

ในด้านกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเทศไทยก็ได้มีการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 6 ฉบับ
คือ
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ
6. กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๘ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงการก่อกวนโดยกลุ่มแฮกเกอร์ เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ การทำลายข้อมูลและอุปกรณ์ เป็นต้น คอมพิวเตอร์เป็นทั้งข้อมูลและเป้าหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ เช่น ใช้ในการขโมยเงิน รายชื่อลูกค้า ข้อมูลส่วนบุคคล หมายเลขบัตรเครดิต และอื่นๆ ส่วนคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเป้าหมายของการก่ออาชญากรรม เช่นแฮกเกอร์ ทำลายระบบของผู้อื่น

วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์จากบุคคลที่ไม่รับอนุญาตมีดังนี้
1. การใช้ Username หรือ User ID และรหัสผ่าน (Password)
2. การใช้วัตถุใดๆเพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่บัตรหรือกุญแจ
3. การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
4. ระบบเรียกกลับ เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้ระบบปลายทาง

เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือทางการเรียนรู้ ที่สามารถบั่นทอนความรู้สึกได้ หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง การนำนโยบายเกี่ยวกับจริยธรรม การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็นหน่วยงานต่างๆ ควรกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกัน และผู้ใช้ก็ควรที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด อีกทั้งช่วยกันสอดส่องดูแลและป้องกันอาชญากรรมตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่

บทที่ 9 ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

ปัญญาประดิษฐ์ (ARTIFICIAL INTELLIGENCE : AI)
ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป้าหมายของปัญญาประดิษฐ์คือการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ตั้งแต่ เห็น ฟัง เดิน พูด และรู้สึก รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์

ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
1. ข้อมูลจะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ
2. ระบบจะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฐานความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน
3. ระบบจะถูกนำมาช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์
4. ระบบจะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์มาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ (EXPERT SYSTEMS)
เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจ โดยจะเกี่ยวข้องกับการจัดความรู้ มากกว่าสารสนเทศทั่วไป และจะถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ ระบบผู้เชี่ยวชาญจัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติดตั้งใช้งานมากที่สุด ระบบจะทำการโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ

ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
1. ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้
2. จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้ผู้บริหารจำนวนมากๆ พร้อมกัน
3. สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิพลให้กับผู้ใช้
4. ช่วยให้การตัดสินใจแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5. ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEMS : GIS)
เป็นกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์ กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น สัมพันธ์ ที่อยู่ บ้านเลขที่ กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่งเส้นรุ่ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
1. ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจากการทำงานด้วยมือแบบเดิม
2. แก้ปัญหาความล่าช้าของข้อมูลโดยสามารถแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ระดับหนึ่ง
4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้และยังทำให้เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
5. สามารถควบคุมความเป็นมาตรฐานได้
6. สามรถจัดหาระบบความปลอดภัยที่รัดกุมได้
7. สามารถควบคุมความคงสภาพของข้อมูลได้

คำถามบทที่ 8 ระบบESS

1. อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง ระบบนี้ช่วยเพื่มขีดความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร
- ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนในการตัดสินใจประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับการพัฒนามาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการแก้ปัญหา แบบไม่มีโครงสร้างผู้บริหารใช้ ESS เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก

2. ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารระดับสูงมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
- ลักษณะของข้อมูล เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์การที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ส่วนแหล่งข้อมูลมี ๓ แหล่ง ได้แก่ข้อมูลภายใน ภายนอก และ ข่าวสารมี่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

3. ลักษณะของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง และความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงต่อความสำเร็จระบบเป็นอย่างไร
- ลักษณะของ ESS คือ
1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
3. เชื่อมโยงกับข้อมูลภายนอก
4. สามารถประมวลผลรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
6. มีระบบรักษาความปลอดภัย

4.อินเทอร์เน็ตช่วยในการสนับสนุนการทำงานจองระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงอย่างไร
- อินเทอร์เน็ต เป็นตัวสนับสนุนที่ช่วยต่อการดำเนินงานขององค์การใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในองค์การ หรื่อเชื่อมโยงกับแหล่งของข้อมูลภายนอกองค์การได้

5. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แตกต่างกันอย่างไร
- ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเป็นเพียงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล แต่ยังมาสามารถจะสรุปอะไรได้ แต่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นกระบวนการคัดเลือกคัดสรร มีการตั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ