ปัญญาประดิษฐ์ (ARTIFICIAL INTELLIGENCE : AI)
ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป้าหมายของปัญญาประดิษฐ์คือการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ตั้งแต่ เห็น ฟัง เดิน พูด และรู้สึก รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์
ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
1. ข้อมูลจะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ
2. ระบบจะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฐานความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน
3. ระบบจะถูกนำมาช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์
4. ระบบจะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์มาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (EXPERT SYSTEMS)
เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจ โดยจะเกี่ยวข้องกับการจัดความรู้ มากกว่าสารสนเทศทั่วไป และจะถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ ระบบผู้เชี่ยวชาญจัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติดตั้งใช้งานมากที่สุด ระบบจะทำการโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ
ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
1. ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้
2. จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้ผู้บริหารจำนวนมากๆ พร้อมกัน
3. สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิพลให้กับผู้ใช้
4. ช่วยให้การตัดสินใจแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5. ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEMS : GIS)
เป็นกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์ กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น สัมพันธ์ ที่อยู่ บ้านเลขที่ กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่งเส้นรุ่ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
1. ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจากการทำงานด้วยมือแบบเดิม
2. แก้ปัญหาความล่าช้าของข้อมูลโดยสามารถแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ระดับหนึ่ง
4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้และยังทำให้เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
5. สามารถควบคุมความเป็นมาตรฐานได้
6. สามรถจัดหาระบบความปลอดภัยที่รัดกุมได้
7. สามารถควบคุมความคงสภาพของข้อมูลได้
22 กุมภาพันธ์ 2551
บทที่ 9 ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น